Ampol C.

สรุปเนื้อหาพระไตรปิฏก 1
สรุปเนื้อหาพระไตรปิฏก 2
กด ctrl ค้างเพื่อเปิด tab
กรรมฐาน หลวงปู่มั่น
การทำสมาธินานาชาติ
ลมหายใจ
การทำสมาธิ
บริกรรมยุบพองรู้

พระไตรปิฏกเล่ม 17
พระไตรปิฏกเล่ม 15
เสียงอ่านพระวจนะ
เสียงอ่านพระวจนะ
พระโมคาลานะ
พระไตรปิฏก-เทียบ



กุณทาลินี 7 จักระ
พลิกจิต
สมอง
ทฤษฎีอารมภ์
คัมภีร์นรลักษณ์ะ
คัมภีร์โยกย้ายเส้นเอ๊น
บริหารนิ้วข้อมือแบบนินจา








ฌาน นำทางให้เห็น จิต
เมื่อเห็น จิต ดวงตาธรรม จึงเพียงเริ่มเปิด
เมื่อจิต และ กาย แยกจากกัน จึงเพียงเริ่มต้น แห่งสัจจธรรม
บริสุทธิ์    อิสระ    หนัก-แฝงกับผัสสะ    แทงตลอด    ทิ้ง-สิ่งยึดติด อย่างวางใจ    สติ-แห่งจิต

เมื่อจิตพลิกแล้ว จะเห็น สิ่งต่างๆเป็นแสนเป็นล้าน เป็นสมมติ พร้อมกันเพียงเสี้ยววินาที

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา    (ศรัทธา วิริยะ) สติ (สมาธิ ปัญญา)    เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา    นิโรธะคามินีปฏิปทา
Home page

มีสติตั้งมั่น รู้เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับแห่งอกุศลธรรมทั้งปวง

เมื่อ ละ ความยินดี ความยินร้าย ได้ เสวยเวทนาก็ไม่ชื่นชม-ยึดถือเวทนา-ความพอใจ ความยึดมั่นถือมั่น จึงดับไป

เป็นเหตุให้ดับภพ ดับชาติ โดยลำดับ จนถึง ดับความคับแค้นใจ นี่เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวง

เมตตาแก่จิตตัวเองให้มาก   ด้วยการพัฒนาความคมชัด ให้ยั่งๆ ขึ้นไป
อย่าเห็นแก่กิน    อย่าเมาพร่ำเพ้อ   อย่าเห็นแก่นอน จงอย่าประมาท

จึงจะรู้ถึง จิตบริสุทธิ-ทำให้กายบริสุทธิ กายบริสทุธิ-ทำให้จิตบริสุทธิ ฟอกกันไปๆมาๆ ได้อย่างไร

เรืองภายนอกไม่ใช่เรืองของเรา หน้าที่ของเราคือ นิพพาน
ด้วยการทรงไว้ซึ่ง อิทธิบาท4 กับ ความสงบ + อุเบกขา ด้วยการ เว้น สัญญา + อารมภ์
(อิทบาท 4)สงบ + อุเบกขา    - (สัญญา + อารมภ์)


จิต|----------- คร่อมด้วย สติ -------------|กาย

เมื่อจิตพลิกแล้ว จะเห็น สิ่งต่างๆเป็นแสนเป็นล้าน เป็นสมมติ พร้อมกันเพียงเสี้ยววินาที


กรรม เป็นเผ่าพันธุ์ สืบทอดตามสายเลือด --- กรรม เป็น ทายาท จะมีผู้รับช่วงต่อไป
การชักจูง ในบางครั้งเพียงให้เข้าสู่ทางธรรมนั้นก็ เพียงพอ เพราะกรรมบางคนนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องชดใช้ไป จนตัวตาย
เวทนาเช่นนี้ มิควรเกิดขึ้น เพียงเมตตา ชี้แนะเข้าสู่ทางธรรม เพื่อพัฒนาจิตสำหรับชาตินี้ ก้อเพียงพอ
การไปขวางกรรมที่เขาต้องชดใช้ หรือ ไปช่วยเหลือให้พ้นจากกรรม ด้วยวิธี กิเลสดับกิเลสนั้น ไม่เป็นผลดี
เพราะกรรมที่เขาเหล่านั้นเผชิญอยู่ เพื่อให้จิตโน้มเข้าสู่ทางธรรม โดยจำยอม อยู่แล้ว

จิต สันโดษ(เพียงพอ) ใฝ่หาความบริสุทธิ์ อยู่ได้จากความสามารถพึ่งพาเพียงตัวเองสบายๆ (จิต + สังขาร)

ชีวิตที่ดี อยู่แบบ กาย และ จิต บริสุทธิ์ มีมุมมองโลกในแบบใหม่ ที่ไม่ได้อยู่บนฐานของกิเลส
ดีกว่าไปจมปรัก ใช้ชีวิตอยู่กับ กิเลส หรือ กองทุกข์ทั้งปวง
ทำร้ายทั้ง จิตให้ขุ่นมัว ทำร้ายทั้งกาย ให้หลั่งสารพิษ มาสะสมในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทรมานไปจนวันตาย
 
สภาวะธรรม ของเรานี้ เริ่มต้น จากการได้พบพระอาจารย์ใหญ๋(หลวงพ่อไก่ วัดตรีวิสุทธิธรรม) เมื่อ ปี พย 2555 และเข้าบวชพราหม ครั้งแรก เมื่อปี 3 มค 2556 ปฏิบัติธรรมจนถึง 21 พย 2556 สื่งที่เราได้รับรู้นั้น เป็นสิ่งที่รู้เฉพาะตน หรือ กับผู้ที่มี ภูมิธรรมเท่ากันหรือสูงกว่า จึงจะเข้าใจได้ (ปัจจักตัง) และด้วยวิธีการของพระอาจารย์ใหญ่ทำการฟอกจากข้างในก่อนจึงออกมาข้างนอก สิ่งที่เราประสบนั้น เราจะพยายามรายละเอียดไปเท่าที่ชีวิตนี้ยังดำรงอยู่

--- ความรู้ถึงวิธีนิพพาน นั้นมีอยู่, ความรู้ถึงการยืนชีวิตของขันธ์ให้ยาวนานตามปราถนา นั้นมีอยู่ ---
(นิพพาน: สภาพว่างจาก โมหะ โทสะ ราคะ ... เข้าไปรู้หรือชิม ได้ด้วยสภาวะ ฌาน 4 ที่สมบูรณ์)
ไม่ว่าเจ้ากรรมจะมากมายเพียงใด ... เจ้ากรรมนายเวรสุดท้าย คือ ขันธ์ 5 ร่างกายเรานี่เอง !!!


แทงตลอด ...word: bhbh
  • อนัตตา = สมมติ / อุปทาน
    (จิตเห็นสิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวกัน) ...อ่านดูนั้นง่าย แต่จะเข้าถึงสภาวะนี้ได้ ต้องผ่าน โยนิโสมนัสิการ มาก่อน จนถ่องแท้
    .
  • จิตจึงคลาย จากการ ยึดติด
    .
  • จิตจึงวาง

เมื่อจิต เห็น แก่นธรรมนี้แล้ว สภาวะที่จะตามมาลำดับต่อไป คือ จิตเป็นอิสระ ไร้พันธะผูกพัน เสมือนเรือลากจูงตัดสิ่งลากจูงทั้งปวงออก จิตจะเพียงรู้ผัสสะที่เห็น หรือ ที่กระทบ และ รู้เพียงว่ามันหนัก เช่น ภาพหนัก สีหนัก ความสวยงามหนัก ความไม่สวยงามก็หนัก เข้ามากระทบเพียงเท่านั้น

เมื่อรู้แล้วในจิตอิสระ ให้พัฒนาศักยภาพให้เพิ่มยิ่งๆ ขึ้นไป (ความคมชัด)...หลวงพ่อไก่ กล่าวต่อเราไว้

จิตแยกกาย > แทงตลอด > จิตอิสระ หรือ จิตบริสุทธิ์ > มีสติทุกลมหายใจเข้าออก ณ ช่องว่าง หรือ อิสระ นี้
เมื่อจิตบริสุทธิ์ นำพากายบริสุทธิ์ กายบริสุทธิ์นำพาจิตบริสุทธ์ เสริมกันไปเสริมกันมา และมีน้ำอัมฤทธ์ หล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา

จากนั้นจิตจะบอกให้ ทำการดับสัญญาทั้งหมด ( คือการทำ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือ สมาบัติอันดับ สัญญาและเวทนา นั่นเอง... พระไตรปิฏกหน้า 409) ... ด้วยการ ดึงสภาวะลงสู่ ฌาน วิตกวิจารณ์ จะรอสัญญาขึ้นมาเอง หรือ จะ ค้นหาเองก้อได้ แล้ว พิจารณาโดยใช้ ไตรลักษณ์ หาเหตุเกิดและเหตุดับ

เพื่อวาระสุดท้าย ดูการคลืบคลานของความเจ็บปวด ให้รู้ว่า นี่ไม่ใช่ของกู มันของมึง(ขันธ์)


และวาระสุดท้ายของจิตดวงสุดท้าย ภาระกิจการนิพพาน จึงเริ่มขึ้น เพื่อละปลด สิ่งหนักหน่วง ที่ยังเกาะ หรือ พยายามเกาะ จนหมดสิ้น เหลือแต่จิตโดดๆ ดวงเดียวเท่านั้น
ซึ่งต้องอาศัย กลไกอัตโนมัติ ของ สติ ที่เป็นฌานที่เกิดขึ้นอัตโนมัติเหมือนกัน
ภาษาธรรม เรียกกันว่า เชาวจิตสุดท้าย จะทำการประมวลผล บาป บุญ คุณโทษ วิบากกรรม ทั้งหมด กับจิตดวงสุดท้าย



วัดญานคุตโต กาญจนบุรี

เส้นทางธรรมของเรา ณ จุดเริ่มต้นแห่งนี้

เรามาเพียงเพื่อแค่เรียนรู้ทำสมาธิยังไง เฉยๆ ไม่แม้แต่จะคิดว่าจะมาไกลได้เพียงนี้ ... เป็นเพราะ พระอาจารย์ใหญ่ และ พระอาจารย์ตุ้ม ที่ เมตตา

ขั้นตอนเหล่านี้ จิต เป็นผู้สัมผัสได้ และ เห็นเองเท่านั้น ห้ามมิให้มาจากสมองเข้าใจหรือท่องจำ หรือ รู้โดยการอ่าน
และ ควรสอบอารมภ์เสมอจากกัลญานมิตร เพื่อหลีกเลี่ยงกิเลสแฝงตัวนึง คือ มานะ ที่ละเอียดมาก ทำให้เกิดวิปัสสนูขึ้น



กฏเหล็ก 3 ข้อสำหรับการนั่งสมาธิ
  1. ไม่ลืมตา
  2. ไม่กลัว
  3. ไม่สงสัย
เพื่อให้ รู้จักมี สติ ต่อทุกสภาวะการณ์ ทุกข์ทางกาย ภาพปรุงแต่งทางใจ ผัสสะรอบตัว เพื่อทิ้งความสงสัยต่างๆ นานา
การเจริญธรรม มี 2 ลักษณะ 1. สมถะ 2. วิปัสสนา ดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
ความเกษมแห่งโยคะ นั้นยอดเยี่ยม แต่เป็นรอง โยนิโสมนัสิการ
ซึ่งโยนิโสมนัสสิการ นี่แหละ ที่จะนำพาให้เกิดภาวะ จิต กับ กาย แยกจากกัน คือ รู้การไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน อย่างชัดเจน
แต่ถึงกระนั้นก้อตาม ยังคงต้อง ทำฌาน เป็นพื้นฐาน ไม่ว่าสำหรับผู้เริ่มต้น ที่สูงด้วยบารมี หรือ เริ่มสร้างบารมี เพื่อ ใช้ ฌาน พาไปหา จิตในเบื้องต้นก่อน
ในการทำสมถะ มีได้หลายลักษณะตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่เราได้เรียนรู้นั้น เราใช้การทำ รูปฌาน 4 ได้แก่
  1. ฌาน 1 วิตก + วิจารณ์
    อยู่กับ สิ่งบริกรรมสิ่งนึง (เราใช้ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) + มีอารมภ์ของสิ่งที่บริกรรมนั้น
  2. ฌาน 2 ปิติ
    อาการทางร่างกายทุกชนิด
  3. ฌาน 3 สุข
    ไม่มีอาการทางร่างกาย และ ทางจิต มีแต่ สุขกาย สุขใจ เท่านั้น
  4. ฌาน 4 เอกอัคคตา (จิตควบแน่น)
    ทุกอย่างมีเพียงหนึ่งเดียว กาย จิต สภาวะแวดล้อมหยุดนิ่งก้อได้
--- --- จบด้วยการทำ มหาสติ = จิต สติ สัมปชัญะ รวมเป็นหนึ่งเดียว --- ---


         (เหลือ ตัวรู้ เพียงตัวเดียว รึเปล่า? )
คำตอบ คือ เข้าหาตัวรู้ ว่าเกิดมาได้อย่างไร เมื่อรู้แล้วจึงจะคลายได้ แล้วจะวางเองโดยอัตโนมัคิ


ก่อนทำฌาน นั้น เราจะต้องรู้เสมอว่า กายนิ่ง ปากปิด จิตสงบ .... พระอาจารย์ตุ้ม เน้น สิ่งนี้เสมอก่อนทำสมาธิ

การทำสมาธินั้น เปรียบเสมือนการทำ สภาวะหยุดนิ่ง กับ ร่างกาย(รวมอวัยวะทั้งหมด) สมอง-หัวใจ และ จิต การฝึกใหม่ๆ นั้น จะเกิด การต่อต้านสภาวะหยุดนิ่ง โดยมี นิวรณ์ 5 เป็นตัวก่อกวน หรือ มาร ที่ขัดขวางการเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งนี้

เรายังใช้ การทำสมาธิลักษณะ ฉันทะสมาธิ วิริยะสมาธิ จิตตสมาธิ วิมังสาสมาธิ ด้วยหลังจากที่ จิต ละเอียดไปอีกระดับหนึ่ง และ ยังมีอีกสองสามลักษณะ เช่นกัน
การกำหนดรู้ (ศึกษา)
  • ขันธ์ 5
  • กิเลส 10
  • นิวรณ์ 5
    เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด พะวง วิตก หากมีอยู่ และก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถ ทำให้ร่างกาย และ จิตใจ หยุดนิ่งได้อันได้แก่
    1. กามฉันทะ
      ความพอใจในการเสพ สิ่งเพลิดเพลิน
    2. พยาบาท
      คิดแค้น ขุ่นเคือง เอาโทษเอาคืน
    3. ถีนะมิทธะ
      ความขี้เกียจความง่วงนอน หรือ เหนื่อยล้า
    4. อุทธัจจะกุกกัจจะ
      คิดฟุ้งซ่าน คิดเรื่อยเปื่อย
    5. วิจิกิจฉา
      สงสัยโน่น สงสัยนี่
  • อริยะสัจจ 4
สิ่งที่กำหนดรู้นี้ จะมี บทบาทสำคัญในการทำ โยนิโสมนัสสิการ ซึ่งมีหลายๆ วิธี สำหรับเรานั้น เราใช้วิธี แยกแยะรายละเอียดกลไก ต่างๆ ภายหลังมารู้จากพระอาจารย์ใหญ่ว่า นี่คือ การชำแหระกิเลส นั่นเอง หลังจากนั้น วิธีการละ ก็เพื่อจุดประสงค์ให้ กาย และ จิต หยุดนิ่ง โดยเฉพาะที่สำคัญคือ ลมหาย และ การเต้นของหัวใจ เป็นขั้นแรก ถัดมา นึกคิด ว่างเปล่า จะหยุดกลไกเคลื่อนไหวของสมอง และ คลายการเกร็งของอวัยวะทั้งปวง

ภาระที่โดนปลดจากการผูกมัดหรือยึดเกี่ยวโยงไว้[เปรียบเหมือนสายสลิงที่เกี่ยวหลังเอาไว้](หรือที่เรียกกันว่าการหลุดพ้น) นั้น ต้องอาศัย มรรค 8 ( หรือ 1 ใน โพธิปักขิยธรรม) เป็นปัจจัยที่จะต้องพร้อมและบริบูรณ์ ไม่ว่าจะทำปฏิบัติ ทั้งทางโลก หรือ ทางธรรม เมื่อมรรค 8 นั้นพร้อมแล้ว จิตจะหลุดพ้นทันที แต่ระยะเวลาการหลุดพ้นนั้น ขึ้นกับ ภูมิธรรม ในขณะนั้นว่า มีภูมิธรรม มากน้อยเพียงใด หากภูมิธรรมยังน้อยอยู่ สภาวะหลุดพ้น หรือ อิสระ นั้นจะคงอยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่ในภาวะยอดยิ่ง เมื่อภูมิธรรม เพียงพอแล้ว และเกิดสภาวะหลุดพ้น สภาวะนี้จะคงอยู่ตลอดไป เนื่องด้วยมีปัญญารองรับต่อสภาวะ สิ่งสุดท้ายที่ยังคงทำต่อไปจนสังขารนี้ดับ คือ การมีสติอยู่กับปัจจุบัน และ การหมั่นทำอาณาปณสติอยู่กับ กาย เพื่อทำความรู้ต่อสภาวะกาย (รวมอวัยวะทั้งหมด) ให้ถ่องแท้ หรือ อีกนัยหนึ่งคือ เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว ด้วยความเป็นธรรม ควรทำกายนั้นให้บริสุทธิ เช่นจิตด้วย ตาม พุทธวจนะของพระพุทธเจ้า ในเรื่องการทำอาณาปณสติ


ณ มุมนึงของจิต ความไม่บรรลุซึ่งปราถนา และ ความน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นเศษเชื้อ ที่รอการปะทุและลุกไหม้ เริ่มจากจิตไปสู่กาย อยู่ตลอดเวลา การมีสติ อยู่ตลอด จะเหมือน ตัวควบคุม ออกซิเจน มิให้เข้าไปป้อน เชื้อเพลิง ให้กับสิ่งนั้น เพื่อ ดับ ความลังเล และ เพ้อฝัน ที่ก่อให้เกิดอารมภ์บรรเจิด แห่งความหลงใหล

สติ ตัวนี้ เป็นสติในจิต ที่จะทรงอนุภาพ เมื่อถึงสภาวะ จิตแยกออกจากกาย

สติ นั้นอยู่กับอะไร? สติ นั้น อยู่กับ การรู้ถึง การรบกวนต่อความสงบ ในจิต หรือ สภาวะหยุดนิ่ง หรือ ระยะห่างระหว่างกายและจิตนั้นมีส่วนเกิน เข้ามาปนความว่างเปล่าของระยะห่าง
เชื้อ = ตัณหา, ความทะยานอยาก
ออกซิเจน = การปรุงแต่ง
ไฟ = ทุกข์
ควบคุมปริมาณออกซิเจน = สติ
เราดับผัสสะ ดังกล่าว ด้วย อิทธิบาท 4 และ พรหมวิหาร 4 เพื่อเป็นกำลังให้ความบริสุทธิ์ภายในจิต ได้ในเบื้องต้น

เมื่อสภาวะมาถึง จิตควบแน่น (ทางธรรมเรียก ปัสสัทชิ) มีกำลังที่มากมายในการถอนรากถอนโคนกิเลสได้ดีกว่า เมื่อสภาวะ จิต dehydrate ความบริสุทธิ์เปรียบเสมือนน้ำ ออกหมดแล้ว กิเลสที่เหลือ จะกองไว้ไร้พิษสง ไร้ฤทธิ์ โดยปราศจาก การก่อเกิด กิเลสนั้นได้อีก


ธรรมารมภ์ หรือ ธรรมชาติของอารมภ์ใดๆ ก็ตาม ปราศจากการยึดถือ เพียงแค่ รู้ ว่าเป็นเช่นนั้น การยึดถือ คือการเข้าไป จดจ่อ ติดตาม เฝ้าจับ ไม่คลาดคลา เสมือน ฌาน 1 ซึ่งในธรรมที่สูงสุดแล้ว จะปราศจากการ ยึดถือ ใดๆ ทั้งสิ้นทั้งปวง


สัญญา เปรียบเสมือนไอติมแท่ง โชย ไอ ของ ตัณหา และ ปรุงแต่ง เพื่อกระตุ้นให้เกิด (ก่อให้เกิด) ความนึกคิด

การหยุดความนึกคิด เป็นการหยุดการทำงานของสมองส่วนหน้า เพื่อให้สมองส่วนหลังขึ้นมาทำงาน 100% ซึ่งต้องอาศัย การคลายใจ คลายกาย ให้ปล่อยวาง แล้วให้ม่านตาขยายไร้การควบคุมด้วยการมองไปข้างหน้าประมาณ 1 ช่วงแขน

โดยรวมนั้น หยุดการนึกคิด ทำใจให้ว่าง เหมือนเตาไฟ ที่ไฟหยุดแล้ว ก็อย่าเติมเชื้อไฟใดๆ เข้าไปอีก เหลือแต่เตาเปล่าๆ

แต่ในบางกรณี เทคนิค การดึงสัญญาต้นกำเนิดขึ้นมา เพื่อนำทางเข้าสู่ภวังค์ สามารถทำได้อยู่ เช่นเสียงเพลง changing partners, ภาพการสวดมนต์กับพ่อเมื่อครั้งอยู่บ้านเก่า
โตรงสร้าง การก่อเกิดความวิตก และวิธีการดับด้วยการดู ลมหายใจ หัวใจ นึกคิด จนหยุด
[โดยรวม หยุดการใช้พลังงาน ด้วยการ คลายและจมลมหายใจที่ตันเถียนใดก็ได้จนกระทั่ง ลึกและนานจนดับไป ให้หัวใจเต้นช้าลงเรื่อยๆ-อาจมีปัจจัยประกอบช่วยเช่นการไม่บริโภคหรือเสพสิ่งที่ทำให้กระตุ้นหัวใจ หยุดการนึกคิด แปลงพลังงานลบและบวกต่างๆเป็นพลังงานสงบเช่นกิเลสโดยการคลายปล่อยวางและให้มาจมในตันเถียน จนกระทั่ง สมองตัดหรือดับสัญญานการรับรู้สัมผัสต่างๆทางร่างกาย]
อ่านเพิ่มเติม

E:oodoo7 P:bb G:ampolc
17 5 2024
Welcome Guest
Main | Sign Up | Login
เปลี่ยน uID ให้ไปที่ ucoz.com
โดย logout ก่อน
Login form
Calendar
Entries archive
Tag Board
Search
mp3
Changing Partner

nonCopyright © 2024
Make a free website with uCoz